วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการบัญชี

การบัญชีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ในช่วงแรกๆก็เป็นแค่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตร กับมูลค่าเหล่านั้น ส่วนวิชาการบัญชีที่มีพื้นฐานเหมือนกับระบบคณิตศาสตร์ (ระบบบัญชีคู่ ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยมีการบันทึกทั้งด้านบวก (เดบิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านซ้าย) กับ ด้านลบ (เครดิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านขวา)โดยที่การบันทึกแต่ละครั้งจะต้องมียอดรวมด้านบวกรวมกับด้านลบเป็นศูนย์) เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีก่อนปี ค.ศ.1543 โดย Luca Pacioli ได้พิมพ์หนังสือชื่อว่า Vennice ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี โดยพื้นฐานของการบัญชีทั้งหมดมาจากสมการว่า "สินทรัพย์ = หนี้สิน+ทุน" ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน
บัญชี หรือ การบัญชี เป็นการวัดผลการดำเนินงาน การเปิดเผยสิ่งที่สำรองไว้ เพื่อประกันเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ข้อมูลเหล่านี้ เช่น ผู้บริหาร นักลงทุน เจ้าหน้าที่สรรพากร รวมถึงผู้ที่กำลังตัดสินใจในการลงทุนอื่นๆ
การบัญชีการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งรวมถึงวิธีการดำเนินงานทางด้านการบันทึก, แยกประภทหมวดหมู่, การสรุปผลการดำเนินงาน, การจัดทำรายงานหรืองบการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือได้ ของรายงานทางบัญชี ระบบบัญชี และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดข้อมูลทางบัญชี ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้ตรวจสอบภายใน จะเป็นพนักงานของกิจการนั้น ซึ่งจะขึ้นตรงกับคณะกรรมการสูงสุดของกิจการ เนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ภายในอำนาจการควบคุมของระดับล่างๆ ซึ่งจะมีผลให้มีการตกแต่งรายงานได้ รวมถึงยังเป็นอิสระกับการรายงานเรื่องทุจริตในกิจการได้ด้วย
ผู้สอบบัญชีภายนอก จะไม่เป็นพนักงานของกิจการ มีความเป็นอิสระจากการควบคุมของกิจการเพื่อให้มีผลต่อการตกแต่งรายงาน และยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย ตามกฎหมายของไทยบังคับให้แต่ละกิจการต้องมีผู้สอบบัญชีภายนอกรับรองความถูกต้องของรายงาน หรืองบการเงินด้วย

ในปัจจุบันผู้สอบบัญชีภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
   1.ผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถสอบบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีสินทรัพย์ และรายได้ในงวดนั้น ไม่เกินกว่า 30 ล้าน และต้องไม่มีทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท
   2.ผู้สอบบัญชีที่รับรองทั้งไป สามารถสอบบัญชีกิจการที่เป็น ห้างหุ้นส่วนที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่สามารถสอบได้ และสอบบัญชีบริษัทจำกัดได้ แต่การสอบบัญชีสหกรณ์ และบริษัทมหาชน จะต้องมีใบอนุญาตเพิ่มเติม
ผู้จัดทำบัญชีต้องจัดทำข้อมูลทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป(GAAP) ส่วนผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะจัดทำโดย สภานักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
กฎหมายการบัญชี
กฎหมายการบัญชี จะกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีแก่บุคคล หรือนิติบุคคลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับระบบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเดิมมีการใช้ ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 285 เป็นกฎหมายการบัญชี แต่ต่อมากฎหมายดังกล่าวล้าสมัยมาก ไม่เหมาะกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จึงมีการตราพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นใช้เป็นกฎหมายการบัญชี ล่าสุดมี พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เพื่อกำหนดให้การจัดทำบัญชีถือเป็นวิชาชีพเฉพาะ สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านนี้โดยเฉพาะเท่านั้น

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งบการเงิน

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินขั้นสุดท้ายของขบวนการทางบัญชี เพื่อให้เป็นสื่อแสดงข้อมูลทางการเงินของกิจการเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกิจการตามงวดบัญชีและตามฐานะการเงิน
ของกิจการว่ามีรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเท่าไหร่
การแสดงงบการเงินโดยทั่วไปแบ่งเป็น
  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  • งบดุล (Balance Sheet)
งบกำไรขาดทุนและงบดุลนั้นสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชี (Account Form) และแบบรายงาน (Report Form)
ขั้นตอนการจัดทำงบการเงิน
  • บรรทัดแรกเขียน  “ชื่อกิจการ
  • บรรทัดที่สองจะต้องระบุชื่องบว่าเป็น  งบกำไรขาดทุนหรือ งบดุล
  • บรรทัดที่สาม แสดงรอบระยะเวลา หรือวันที่จัดทำงบ
      ถ้าเป็นงบกำไรขาดทุน จะแสดงเป็นรอบระยะเวลาหรือเป็นงวดเวลา เช่น สำหรับ    1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31       ธันวาคม 2545
      ถ้าเป็นงบดุล จะแสดงวันที่ที่จัดทำ โดยระบุวันใดวันหนึ่ง

กระดาษทำการ

            กระดาษทำการเป็นกระดาษที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบการเงินได้สะดวก และรวดเร็ว โดนนำรายการบัญชีจากงบทดลองมาจำแนกรายการว่า รายการใดที่จะนำไปใช้ในการคำนวณหากำไรขาดทุนก็จะนำไปไว้ในช่องงบกำไรขาดทุน และรายการใดที่จะนำไปแสดงฐานะทางการเงินของกิจการก็จะนำไปไว้ในช่องงบดุล
กระดาษทำการไม่ใช่เป็นการบันทึกบัญชีและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน ดังนั้นกิจการจะทำกระดาษทำการหรือไม่ทำก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะมีหลายชนิด เช่น ชนิด 6 ช่อง ชนิด 8 ช่อง และชนิด 10 ช่อง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประโยชน์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้กระดาษทำการ


ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • เขียนหัวกระดาษทำการ 3 บรรทัด
  • นำงบทดลองมาแสดงไว้ในกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • ผ่านรายการจากงบทดลองไปใส่งบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • รวมยอดงบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • หาผลต่างของยอดรวม  ในด้านงบกำไรขาดทุนถ้าเครดิตมากกว่าด้านเดบิตถือเป็นกำไรสุทธิ แล้วนำยอดไปใส่ในงบดุลด้านเครดิต ถ้าด้านเดบิตของงบกำไรขาดทุนมากกว่าด้านเครดิตถือว่าขาดทุนสุทธิ นำยอดขาดทุนไปใส่งบดุลด้านเดบิต
  • รวมยอดเงินในช่องงบกำไรขาดทุน และงบดุลให้เท่ากัน

งบทดลอง

            งบทดลอง คือ งบที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
และผ่านรายการไปสมุดแยกประเภททั่วไปตามระบบบัญชีคู่
            การจำทำงบทดลองมากจาการหายอดคงเหลือในบัญชีต่างๆ จากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยจำนวนเงินรวมทางด้านเดบิตและเครดิตในงบทดลองจะต้องเท่ากันเสมอ
1. รวมยอดเงินทั้งหมดในช่องเดบิต  แล้วเขียนจำนวนเงินด้วยดินสอดำในช่องเดบิตชิด
    กับเส้นบรรทัดสุดท้ายต่อจากจำนวนเงินของบัญชีนั้นๆ
2. รวมจำนวนเงินทั้งหมดในช่องเครดิต แล้วเขียนจำนวนเงินด้วยดินสอดำในช่องเครดิตชิด
          กับเส้นบรรทัด สุดท้ายต่อจากจำนวนเงินของบัญชีนั้นๆ
3. หาผลต่างระหว่างจำนวนเงินในช่องเดบิตและเครดิต ดังนี้
          3.1 ถ้ายอดรวมเดบิตมากกว่าเครดิต ผลต่างที่เกิดขึ้นเรียกว่า                 “ยอดเดบิตให้เขียนผลต่างลงในช่องรายการด้านเดบิต
          3.2 ถ้ายอดรวมเครดิตมากกว่าเดบิต ผลต่างที่เกิดขึ้นเรียกว่า
                “ยอดเครดิตให้เขียนผลต่างลงในช่องรายการด้านเครดิต
          3.3 ถ้าในบัญชีแยกประเภทมีเพียงรายการเดียวหรือด้านเดียว
                ให้ถือว่ารายการนั้นเป็นยอดคงเหลือ
                  
ขั้นตอนการจัดทำงบทดลอง
1.             เขียนรูปแบบที่จะใช้ในการจัดทำงบทดลองและเขียนหัวงบทดลอง
2.             หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไปด้วยดินสอดำ
3.             นำยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททั่วไปมาใส่ในรูปแบบของงบทดลอง โดยเขียนชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเรียงตามหมวด คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย และใส่จำนวนเงินตามยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี
4.             บัญชี 5 หมวดแสดงยอดดังนี้
      หมวดที่ 1        สินทรัพย์                     จะมียอดคงเหลือด้าน  เดบิต
      หมวดที่ 2        หนี้สิน                         จะมียอดคงเหลือด้าน เครดิต
      หมวดที่ 3        ส่วนของเจ้าของ         จะมียอดคงเหลือด้าน  เครดิต
      หมวดที่ 4        รายได้                         จะมียอดคงเหลือด้าน  เครดิต
      หมวดที่ 5        ค่าใช้จ่าย                     จะมียอดคงเหลือด้าน  เดบิต
5.             รวมจำนวนเงินช่องเดบิตและเครดิต ยอดรวมของทั้ง 2 ด้านต้องเท่ากัน ก็แสดงว่าการบันทึกบัญชีแยกประเภททั่วไปถูกต้องตามระบบบัญชีคู่




การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท


            สมุดบัญชีแยกประเภท หมายถึง สมุดบันทึกรายการขั้นปลายซึ่งต่อจากการบันทึกในสมุดรายวันขั้นต้นและเป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทต่างๆ เป็นหมวดหมู่ไว้ในเล่มเดียวกัน
            สมุดบัญชีแยกประเภทแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
            การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่างๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดทำบัญชีต่างๆให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน ผังบัญชี ดังนี้
1. หมวดสินทรัพย์                   เลขที่ 100 – 199
2. หมวดหนี้สิน                       เลขที่ 200 – 299
3. หมวดส่วนของเจ้าของ       เลขที่ 300 – 399
4. หมวดรายได้                       เลขที่ 400 – 499
5.หมวดค่าใช้จ่าย                    เลขที่ 500 – 599
*การกำหนดเลขที่บัญชีจะให้ตัวเลขกี่หลักก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละกิจการ
 การผ่ายรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
  • เปิดบัญชีแยกประเภท โดยเรียงลำดับตามเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ในผังบัญชีของกิจการ
  • ผ่ายรายการจากสมุดรายวันทั่วไป ตามลำดับวันที่ที่เกิดรายการขึ้น  โดยนำตัวเลขจากสมุดรายวันทั่วไปใส่ไว้ในบัญชีแยกประเภท ถ้าตัวเลขในสมุดรายวันอยู่ด้านเดบิตก็ลงในบัญชีแยกประเภทด้านเดบิต ถ้าอยู่ด้านเครดิตก็ลงด้านเครดิต ในช่องรายการให้อ้างบัญชีตรงข้าม

การบันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป

สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดที่ใช้บันทึกรายการขั้นต้นได้ทุกเรื่อง ในกรณีที่กิจการมี
สมุดรายวันทั่วไปเล่มเดียว หรือใช้บันทึกเฉพาะรายการที่ไม่อาจบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะ
เล่มอื่นได้ในกรณีที่กิจการนั้นมีสมุดรายวันหลายเล่ม ซึ่งการบันทึกบัญชีจะทำต่อจาการวิเคราะห์รายการค้า

รายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป 
            รายการเปิดบัญชี (Opening Entries) หมายถึงรายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งจะบันทึกเมื่อมีการลงทุนครั้งแรก และเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่
การลงทุนครั้งแรกมี 3 กรณี คือ

กรณี 1 นำเงินสดมาลงทุน
ตัวอย่าง ม.ค.1 2546 นายเลิศนำเงินสดมาลงทุน 10,000 บาท


กรณีที่ 2 นำเงินสดและสินทรัพย์อื่นมาลงทุน ซึ่งจะต้องบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปแบบรวม (Compound Journal Entry)
ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม 2546 นายเลิศนำเงินสดมาลงทุน 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท
อาคาร 200,000 บาท


กรณีที่ 3 นำเงินสด สินทรัพย์อื่น และหนี้สินมาลงทุน การบันทึกรายการจะต้องเขียนเงินสด สินทรัพย์อื่นให้หมดก่อน ต่อไปเขียนหนี้สินแล้วจึงเขียนทุน
ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม 2546 นายเลิศนำเงินสด 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท
อาคาร 200,000 บาท และรับโอนเจ้าหนี้การค้า 50,000 มาลงทุน


เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ (งวดบัญชีใหม่)
            รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ต้องแสดลงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการ ตามกฎหมายกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีให้มีระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มกิจการหรือรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ ยกเว้นรอบระยะเวลาบัญชีเพิ่งเริ่มกิจการอาจไม่ครบ 12 เดือนก็ได้






การวิเคราะห์รายการค้า

การวิเคราะห์รายการค้า
               รายการค้า หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าที่ทำให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของ
มีค่าเป็นเงินระหว่างกิจการค้ากับบุคคลภายนอก เช่น นำเงินสดมาลงทุน ซื้อสินค้าเป็นเงินสด ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เป็นต้น
                ในการดำเนินธุรกิจย่อมมีรายการค้าและเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา รายการค้า
ที่เกิดขึ้นจะมีผลทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น
หรือลดลงและเมื่อวิเคราะห์รายการค้าได้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปบันทึกลงสมุดบัญชีต่างๆ


หลักในการวิเคราะห์รายการค้าขั้นต้น 5 ประการ คือ 
1. สินทรัพย์เพิ่ม (+) 
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม (+)
2. สินทรัพย์ลด (-)
ส่วนของเจ้าของลด (-)
3. สินทรัพย์อย่างหนึ่งเพิ่ม (+)
สินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งลด (-)
4. สินทรัพย์เพิ่ม (+)
หนี้สินเพิ่ม (+)
5. สินทรัพย์ลด (-) 
หนี้สินลด (-)

ตัวอย่างการวิเคราะห์รายการค้า
1. นางสาวยอดมณีนำเงินสดมาลงทุนในร้าน ยอดมณี บริการจำนวนเงิน 40,000 บาท

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
เงินสด 40,000.-
ทุน-นางสาวยอดมณี 40,000.-
2.ซื้อวัสดุในการให้บริการเป็นเงินเชื่อจากร้านนานาภัณฑ์ 8,000 บาท

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
หนี้สินเพิ่ม(+)
วัสดุ 8,000.-
เจ้าหนี้-ร้านานาภัณฑ์ 8,000.-
3. ให้บริการเสริมสวยนางประภาศรี 2,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
ลูกหนี้-นางประภาศรี 2,000.-
รายได้ค่าเสริมสวย 2,000.-
               การเพิ่มขึ้นและลดลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของมีผลทำให้สมการบัญชีมี
การเปลี่ยนแปลง แต่สภาพความสมดุลของสมการบัญชีไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจาการวิเคราะห์
รายการค้าแต่ละรายการจะต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างน้อย 2 ด้านเสมอ รายการค้าที่เกิดขึ้นจะนำ
ไปบันทึกบัญชีในประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ลักษณะของบัญชีคู่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเดบิต (Debit = Dr.)
2. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเครดิต (Credit = Cr.)
หลักการบันทึกบัญชี
1. การบันทึกบัญชีประเภทสินทรัพย์
               สินทรัพย์เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเดบิต (Dr.)
               สินทรัพย์ลด บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)

2. การบันทึกบัญชีประเภทหนี้สิน
               หนี้สินเพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               หนี้สินลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)

3.การบันทึกบัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (ทุน)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) ลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)


สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ความหมายของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)

            สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินที่บุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ แบ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น เงินสด ค่าความนิยม ฯลฯ เป็นต้น 
            หนี้สิน หมายถึง จำนวนเงินที่บุคคลหรือกิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายให้ในภายหน้า เช่น เจ้าหนี้ เป็นต้น 
            ส่วนของเจ้าของ (ทุน) หมายถึง สิทธิความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ที่แท้จริงหรือสินทรัพย์สุทธิ คือ สินทรัพย์ทั้งหมด หัก หนี้สินทั้งหมด 
            
            สมการบัญชี
            สมการบัญชี หมายถึง สมการที่ว่าด้วยความเท่ากันของหลักการการบัญชีที่ว่า 


สินทรัพย์   = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
       A         =  L + OE ( P)
          
จะเห็นได้ว่าเป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)  ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการบัญชีได้ดังนี้
กรณีที่ ถ้าไม่มีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
                  สินทรัพย์   =          ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                       A          =          OE (P)
กรณีที่ ถ้ามีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
                 สินทรัพย์    =          หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                        A         =          L + OE (P)
งบดุล

งบดุล หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของบุคคลหรือกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของอยู่เป็นจำนวนเท่าใด


ประเภทของงบดุล
1. งบดุลแบบบัญชี
ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1       เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด
                  บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ
                  บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า งบดุล
                  บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2       ทางด้านซ้ายมือให้เขียนราละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่างๆ ของ สินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3       ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการ      มีอยู่
ขั้นที่ 4       รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน

 2. งบดุลแบบรายงาน



ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงานมีดังนี้
ขั้นที่1      เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด
                บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ
                บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า งบดุล
                บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2     ตอนบนเขียนคำว่า สินทรัพย์และเขียนรายละเอียดต่างๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่                 แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3     เขียนคำว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของต่อจากสินทรัพย์ ให้แสดงรายการที่  เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็นส่วนของเจ้าของแล้วรวมยอด
                ทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์


บัญชีเบื้องต้น 1

การบัญชี (Accounting) หมายถึงศิลปะในการบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นจำแนกประเภทหมวดหมู่วิเคราะห์และสรุปผล
ทางการเงินได้

วัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของกิจการ โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ตามระเบียบปละหลักเกณฑ์
2. สรุปผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด
3. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง
4. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ 5. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ
6. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต
7. เพื่อใช้เป็นรายงานต่อหน่วยงานของรํฐบาลและบุคคลภายนอก เช่น นักลงทุน สถาบัน

ประโยชน์ของการบัญชี 
1. เป็นหลักฐานในการอ้างอิงเพื่อประกอบผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลดีหรือผลเสียอย่า
ไร จำได้ทำการปรับปรุง แก้ไขได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือขาดทุน
อย่างไรบ้าง
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและทุนเป็นจำนวนเท่าใด
4. รวบรวมข้อมูลในการวางแผนในอนาคตของกิจการ
5. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหารและบุคคลภายนอก