วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์รายการค้า

การวิเคราะห์รายการค้า
               รายการค้า หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าที่ทำให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของ
มีค่าเป็นเงินระหว่างกิจการค้ากับบุคคลภายนอก เช่น นำเงินสดมาลงทุน ซื้อสินค้าเป็นเงินสด ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เป็นต้น
                ในการดำเนินธุรกิจย่อมมีรายการค้าและเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา รายการค้า
ที่เกิดขึ้นจะมีผลทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น
หรือลดลงและเมื่อวิเคราะห์รายการค้าได้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปบันทึกลงสมุดบัญชีต่างๆ


หลักในการวิเคราะห์รายการค้าขั้นต้น 5 ประการ คือ 
1. สินทรัพย์เพิ่ม (+) 
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม (+)
2. สินทรัพย์ลด (-)
ส่วนของเจ้าของลด (-)
3. สินทรัพย์อย่างหนึ่งเพิ่ม (+)
สินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งลด (-)
4. สินทรัพย์เพิ่ม (+)
หนี้สินเพิ่ม (+)
5. สินทรัพย์ลด (-) 
หนี้สินลด (-)

ตัวอย่างการวิเคราะห์รายการค้า
1. นางสาวยอดมณีนำเงินสดมาลงทุนในร้าน ยอดมณี บริการจำนวนเงิน 40,000 บาท

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
เงินสด 40,000.-
ทุน-นางสาวยอดมณี 40,000.-
2.ซื้อวัสดุในการให้บริการเป็นเงินเชื่อจากร้านนานาภัณฑ์ 8,000 บาท

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
หนี้สินเพิ่ม(+)
วัสดุ 8,000.-
เจ้าหนี้-ร้านานาภัณฑ์ 8,000.-
3. ให้บริการเสริมสวยนางประภาศรี 2,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน

สินทรัพย์เพิ่ม (+)
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
ลูกหนี้-นางประภาศรี 2,000.-
รายได้ค่าเสริมสวย 2,000.-
               การเพิ่มขึ้นและลดลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของมีผลทำให้สมการบัญชีมี
การเปลี่ยนแปลง แต่สภาพความสมดุลของสมการบัญชีไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจาการวิเคราะห์
รายการค้าแต่ละรายการจะต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างน้อย 2 ด้านเสมอ รายการค้าที่เกิดขึ้นจะนำ
ไปบันทึกบัญชีในประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ลักษณะของบัญชีคู่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเดบิต (Debit = Dr.)
2. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเครดิต (Credit = Cr.)
หลักการบันทึกบัญชี
1. การบันทึกบัญชีประเภทสินทรัพย์
               สินทรัพย์เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเดบิต (Dr.)
               สินทรัพย์ลด บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)

2. การบันทึกบัญชีประเภทหนี้สิน
               หนี้สินเพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               หนี้สินลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)

3.การบันทึกบัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (ทุน)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) ลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น